A comprehensive directory of food manufacturers, distributors and suppliers in Thailand. Find updated business information on Thailand Agri Food companies.

ADVERTORIALS

    

ทางลัดที่ต้องรู้ ก่อนก้าวเข้าสู่การผลิตระบบ ‘Automation’



ระบบ Automation เป็นเหมือนทางลัดให้กับผู้ผลิตในยุคปัจจุบัน ได้ก้าวข้ามจากการใช้แรงงานคนไปสู่การผลิตแบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพ นั่นหมายถึง เพิ่มการผลิตที่ตอบสนองความต้องการของตลาด เพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรในขององค์กร หากยังคงควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการผลิตให้เป็นไปตามเป้าหมายระยะยาวขององค์กรได้ ก่อนจะก้าวสู่เส้นทางลัด ย่อมต้องมีการเตรียมความพร้อม พรีเมียร์ เทค มาชวนเรียนลัดจากผู้รู้ในอุตสาหกรรม ที่จะมาแชร์ประสบการณ์ตรงให้กับคุณ ก่อนที่จะลงสนามการผลิตจริงกับระบบ ‘Automation’





เปลี่ยน ‘ปัญหา’ เป็น ‘ประสิทธิภาพ’ ด้วย ‘Automation’
คุณสุพัฒน์ ลิ้มศิริ ที่ปรึกษากลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาลบ้านไร่ บ่มเพาะประสบการณ์กว่า 35 ปี ในฐานะผู้จัดการโรงงานไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จังหวัดเพชรบูรณ์ ดูแลภาพรวมการผลิตของโรงงานน้ำตาลทั้งหมด เล่าให้ฟังถึงเหตุผลหลักในครั้งที่ตัดสินใจเปลี่ยนกระบวนการผลิตมาใช้ระบบ Automation เกิดจาก ‘ปัญหา’ ที่นำไปสู่ ‘ระบบอัตโนมัติเพื่อสร้างประสิทธิภาพ’ เมื่อโรงงานผลิตที่ส่งออกน้ำตาลทรายขาวไปให้กับลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถูกลูกค้าปฏิเสธการรับมอบน้ำตาลจากโรงงาน ด้วยเหตุที่ว่าน้ำตาลมีสภาพแข็ง (Caking) จึงทำให้โรงงานโดนปรับและเกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก เมื่อเราตรวจสอบพบว่าต้องติดตั้งเครื่องจักรเพื่อลดความชื้นของน้ำตาลเพิ่มเติมทำให้ต้องย้ายระบบบรรจุน้ำตาลแบบ Manual ตามไปด้วย รวมทั้งในครั้งนั้น มีปัญหาแรงงาน ขาด ลา มาสาย เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงได้เริ่มศึกษาหาข้อมูลในการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ โดยปรับย้ายกระบวนการบรรจุน้ำตาลใหม่ให้สอดคล้องกับตำแหน่งของอุปกรณ์ป้องกันการแข็งตัวของวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นมา และผลพลอยได้จากระบบอัตโนมัติที่ตามมา คือ สามารถลดการปนเปื้อนที่ติดไปกับกระสอบน้ำตาลที่เคยเกิดขึ้นกับการบรรจุแบบ Manual ได้โดยสิ้นเชิง

8 เรื่องที่ต้องพร้อม ก่อนเปลี่ยนจาก Manual สู่ Automation
1. สร้างวิสัยทัศน์กับแผนระยะยาวที่สอดคล้องกัน
2. เข้าใจถึงการลงทุน ผลตอบแทนระยะยาว
3. เตรียมหาบุคลากรก่อนลงสนาม
4. พร้อมปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเพื่อระบบใหม่
5. วางแผนการบำรุงรักษา
6. พัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากร
7. ปรับผังทีมปัจจุบัน สร้างมูลค่าในงานด้านอื่น ๆ
8. สื่อสารและสร้างการยอมรับในองค์กร


คิดจะแก้ คิดจะก้าว ต้องเข้าใจสองเรื่องหลัก
จากแปดเรื่องที่ต้องเตรียมพร้อมเพื่อเปลี่ยนระบบ Manual มาเป็น Automation มีอยู่สองเรื่องสำคัญที่ทุกธุรกิจต้องเน้นย้ำ อันดับแรก การพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากร ซึ่งต้องเป็นการทำงานร่วมกันตั้งแต่ก่อนติดตั้งเครื่องของทั้งบริษัทผู้ผลิตและซัพพลายเออร์ที่เป็นผู้จัดหาเครื่องจักรและระบบต่าง ๆ เช่น ออกแบบการใช้ประโยชน์จากพื้นที่การผลิตให้ได้สูงสุดเตรียมบุคลากรที่พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รวมถึงวางแผนการฝึกอบรมทั้งการปฏิบัติงานกับเครื่องจักรและการบำรุงรักษาเครื่อง

และอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การบำรุงรักษา ซึ่งเป็นถือเป็นวินัยการใช้งานเครื่องจักรในระบบอัตโนมัติ โดยมีประเด็นหลัก ๆ ที่ต้องเตรียมพร้อมและพึงระวัง

• การบำรุงรักษาเป็นประจำ และการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ต้องมีกำหนดการชัดเจน
• การฝึกอบรมและการให้ความรู้ด้านเครื่องจักรกับพนักงานทุกกะ รวมถึงพนักงานใหม่
• ไม่ควรเข้าไปแก้ไขหรือลองเล่นกับซอฟต์แวร์ของระบบควบคุมเครื่องจักร
• ไม่ควรใช้ชิ้นส่วนอะไหล่ที่ไม่ใช่ของแท้จากโรงงานผลิต เพราะจะส่งผลกับประสิทธิภาพของเครื่องจักรในระยะยาว

การดูแลบำรุงรักษาเป็นประจำและการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน จะทำให้เครื่องจักรทำงานได้ดีในระยะยาว ซึ่งจะช่วยป้องกันการสูญเสียค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และค่าใช้จ่ายจำนวนมากในอนาคต ที่เกิดจากขาดการดูแลเครื่องจักรที่เหมาะสมนั่นเอง

รางวัลที่รออยู่ สำหรับการเริ่มก้าว
หลังเปลี่ยนระบบการบรรจุเป็นแบบ Automation แล้ว คุณสุพัฒน์เล่าให้พรีเมียร์ เทค ฟังถึงการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นทั้งในเรื่องต้นทุนการผลิต (TCO – Total Cost of Ownership) ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI – Return on Investment) ประสิทธิภาพต่อการผลิต และระบบความปลอดภัย เพราะระบบ Automation ทำให้โรงงานทำการผลิตได้อย่างต่อเนื่องและรองรับกำลังการผลิตของโรงงานได้เป็นอย่างดี

“จากเดิมที่ใช้พนักงานในส่วนงานนี้ถึง 17 คนต่อกะ ในการผลิต 300 วัน ระบบ Automation ทำให้เราลดลงมาเหลือ 3 คนต่อกะ ลองคำนวณคร่าว ๆ เราลดค่าแรงได้มาก แม้ว่าจะต้องเพิ่มการลงทุนในส่วนของบรรจุภัณฑ์ แต่รวมแล้วเราประหยัดได้ถึงปีละ 3 ล้านกว่าบาท และสามารถคืนทุนให้เราได้ภายใน 3-4 ปี” คุณสุพัฒน์ ยังย้ำผลดีที่เกิดจากการเปลี่ยนระบบ ทำให้ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุของพนักงานอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งทั้งเรื่องความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน บริษัทมีการวางแผนตั้งแต่เริ่มเปลี่ยนระบบ ให้หัวหน้างานพิจารณา เพื่อปรับพนักงานในส่วนนี้ไปสร้างทีมในงานด้านอื่น ๆ เป็นหนึ่งในการเตรียมองค์กรให้พร้อมเมื่อก้าวเข้าสู่ระบบ Automation

มากกว่าการเป็นคู่ค้า คือการเป็นคู่คิด
“เราอยากได้คนมาช่วยคิด มาแชร์ประสบการณ์ มาแบ่งปันให้ความรู้กับเรา บอกเราได้ว่าเรามีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร และอะไรที่เหมาะกับธุรกิจของเรา” คุณสุพัฒน์กล่าวกับพรีเมียร์ เทค ถึงการเลือกคู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ ที่ปฎิเสธไม่ได้ว่ามีส่วนผลักดันความสำเร็จของธุรกิจที่เปลี่ยนผ่านสู่ระบบ Automation ซัพพลายเออร์ที่ดีต้องเป็นมากกว่าคู่ค้า นั่นคือ การเป็นคู่คิด นอกจากจะต้องเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมธุรกิจที่ถือเอาความสำเร็จของลูกค้าเป็นหัวใจหลักแล้ว ยังต้องมีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่แสดงถึงการเป็นคู่คิดที่ดีได้ด้วย

• มีฐานการผลิต ทีมติดตั้งและทีมบริการหลังการขายอยู่ในประเทศหรือภูมิภาคเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องสื่อสารภาษาท้องถิ่นได้
• มีความคุ้นเคยกับทั้งระบบแมนนวลและระบบอัตโนมัติ เพราะจะทำให้เข้าใจและทำงานร่วมกับองค์กรในการก้าวสู่ระบบอัตโนมัติ สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้
• มีความน่าเชื่อถือ มีโครงการตัวอย่างที่แสดงถึงประสบการณ์ในอุตสาหกรรมนั้น ๆ มาก่อน
• มีแบรนด์ที่เป็นที่รู้จัก สามารถตรวจสอบผลงานได้

แน่นอนว่า ถ้าผู้ผลิตเลือกคู่ค้าที่ ‘ใช่’ จะได้รับประโยชน์ที่วัดผลได้และเห็นผลชัดเจน นั่นคือประสิทธิภาพการผลิตจะต้องเพิ่มขึ้น ในขณะที่ต้นทุนและค่าใช้จ่ายลดลง เห็นผลประโยชน์ทางการเงินและการบัญชี เช่น ROI ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นจากระบบเก่าต้องน้อยลงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย และเกณฑ์มาตรฐานของลูกค้าและตลาด เช่น เรื่องสุขอนามัย หรือแม้กระทั่งประโยชน์ทางอ้อมกับระบบที่เชื่อมโยงในการการผลิต เช่น การใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่ามากขึ้น นอกจากนั้น จะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของคนในองค์กรและองค์ความรู้ ส่งผลให้บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น

และประโยชน์เหล่านี้ พรีเมียร์ เทค ยืนยันจากการทำงานร่วมกับคุณสุพัฒน์มาอย่างยาวนานว่า คู่ค้าที่ ‘ใช่’ จะช่วยคุณคิดและมองผลประโยชน์ร่วมกันในการก้าวสู่การผลิตระบบ ‘Automation’

ช่องทางการติดต่อ บริษัท พรีเมียร์ เทค ซิสเต็ม แอนด์ ออโตเมชั่น จำกัด
PREMIER TECH SYSTEMS AND AUTOMATION CO LTD
โทรศัพท์: (66) 2740 5001
Website: www.ptsystemsautomation.com