A comprehensive directory of food manufacturers, distributors and suppliers in Thailand. Find updated business information on Thailand Agri Food companies.

ADVERTORIALS

    

‘เกลือ’ สำหรับนักปรุงอาหาร



ในการประกอบอาหารแต่ละครั้ง ต้องมีขั้นตอนการปรุงอาหาร เพื่อให้รสชาติอาหารออกมาดีที่สุด เครื่องปรุงรส คือ สิ่งสำคัญที่ทำให้อาหารออกมาอร่อยและมีความหลากหลายทางรสชาติ ไม่ว่าจะเป็น ซีอิ๊ว ซอส น้ำตาล น้ำปลา และหนึ่งในเครื่องปรุงที่เก่าแก่ หาง่าย และใช้แพร่หลายที่สุด นั่นคือ เกลือ หรือ โซเดียมคลอไรด์ (NaCl)

เกลือ (Salt) คือ ผลึกที่หลงเหลือหลังจากน้ำทะเล ที่ผ่านการระเหยกลายเป็นเกลือหรือโซเดียมคลอไรด์ เกลือสำหรับการปรุงอาหารส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นด้วยวิธีนี้ สภาพแวดล้อมต่าง ๆ อาจจะส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบของสีเกลือ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงมีเกลือหลากสีหลายชนิดให้เลือกใช้



ตัวอย่างประเภทของเกลือที่นำมาปรุงอาหาร
1. เกลือบริโภค (Table Salt) เป็นเกลือที่บริโภคมากสุด มีสีขาวสะอาด รสเค็มใกล้เคียงเกลือทะเล มีคุณค่าทางโภชนาการ มีโซเดียมค่อนข้างสูง ช่วยป้องกันโรคคอหอยพอก

2. เกลือทะเล หรือ เกลือสมุทร (Sea Salt) เป็นเกลือปรุงอาหารที่ได้รับความนิยมสูงสุด มีความเค็มสูงมาก หาง่าย ราคาไม่สูง เป็นเกลือที่ได้มาจากน้ำทะเล จึงอุดมไปด้วยแร่ธาตุ โดยเฉพาะไอโอดีน

3. เกลือหิน (Rock Salt) เป็นเกลือที่มีลักษณะหลากหลาย มีทั้งสีขาว สีขาวเหลือง และมีเกลือเม็ดสีเทาด้วย ซึ่งสีที่เกิดขึ้นมานั้นจะขึ้นอยู่กับแร่ธาตุ และสิ่งที่เจือปนที่อยู่ในน้ำทะเล เกลือชนิดนี้อุดมไปด้วยแร่ธาตุเช่น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี โพแทสเซียม แมกนีเซียม ทองแดง ฯลฯ ส่วนใหญ่นิยมใช้เพื่อรักษาอุณหภูมิน้ำแข็ง ทำไอศกรีมถัง ใช้หมักดองผลไม้

4. เกลือหยาบ หรือ เกลือเกล็ด (Flake Salt) ลักษณะเป็นพีระมิดสามเหลี่ยม คล้ายคริสตัล มีสีขาวใส ละลายเร็ว ส่วนใหญ่นำมาใช้นึ่งอาหาร ผัก อาหารทะเล เพื่อให้อาหารอร่อยยิ่งขึ้น

5. ดอกเกลือ หรือ เกลือเฟลอร์ เดอ เซล (Fluer De Sel) เป็นสุดยอดของเกลือ ราคาสูง ในการทำนาเกลือแต่ละครั้งจะได้ Fluer De Sel ในปริมาณน้อย ดอกเกลือนั้น รสชาติกลมกล่อมกว่าเกลือประเภทอื่น ๆ มีทั้งรสเค็มอมหวาน สามารถรับประทานกับผลไม้ ใช้ปรุงอาหารได้อย่างลงตัว ชาวต่างชาตินิยมใช้เพิ่มรสชาติไข่ปลา เนื้อสัตว์ อีกทั้ง ยังมีประโยชน์ด้านการดูแลผิวกาย ช่วยขัดผิว เช่น ทำสครับผิว สบู่ก้อน และเกลือสปาขัดผิว เป็นต้น

6. เกลือโครเชอร์ (Kosher Salt) รสชาติใกล้เคียงกับเกลือทั่ว ๆ ไป เพียงแต่มีเกล็ดใหญ่กว่า หยาบกว่า มีสีขาวขุ่น สามารถใช้ปรุงอาหารได้ แต่ละลายยากกว่า Table Salt นิยมใช้ปาดขอบแก้วเครื่องดื่มมาการิต้า ใช้หมักถนอมอาหาร ใช้เป็นน้ำเกลือบรรจุกระป๋อง และดองอาหารจะได้รสชาติดีกว่า



7. เกลือหิมาลายัน หรือ เกลือหิมาลัยสีชมพู (Himalayan Pink Salt) พบมากบนเทือกเขาหิมาลัย เป็นเกลือที่บริสุทธิ์ที่สุดในโลก สีของเกลือมีตั้งแต่สีขาวอมชมพู สีชมพูอ่อน สีชมพูเข้ม มีโซเดียมน้อยกว่าเกลือทะเล มีแร่ธาตุถึง 84 ชนิด มีสรรพคุณช่วยปรับสมดุลน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ลดความเมื่อยล้า ลดปัญหาสิว ผดผื่น นำมาทำเกลือสปา สครับผิว และช่วยดูแลสุขภาพช่องปาก

ข้อดีของเกลือ
1. ป้องกันโรคคอพอก สาเหตุหลักของโรคคอพอก คือ ขาด ‘ไอโอดีน’ ซึ่งจะพบมากในอาหารทะเลและเกลือสมุทร ดังนั้น ในการประกอบอาหารจึงควรเติมเกลือลงไปแทนเพื่อเพิ่มไอโอดีนให้ร่างกาย
2. ป้องกันฟันผุ เกลือมีฤทธิ์กัดกร่อนและรักษาเนื้อฟันได้ดี จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันผู้ผลิตยาสีฟันใช้เกลือเป็นส่วนผสมหลักในการทำยาสีฟัน เพื่อความสะอาดที่มากยิ่งขึ้น
3. ป้องกันตะคริว เกลือช่วยปรับสมดุลของร่างกายและช่วยป้องกันการเกิดตะคริวกล้ามเนื้อ โดยใช้เกลือละลายน้ำดื่มก่อนออกกำลังกาย หรือ ว่ายน้ำ ช่วยไม่ให้เป็นตะคริว
4. แก้ผื่นคัน เกลือมีสรรพคุณในการฆ่าเชื่อโรคได้ดี โดยเฉพาะผดผื่นที่เป็นกันมากในช่วงหน้าร้อนหรือช่วงตั้งครรภ์ วิธีการใช้เกลือบำบัดที่ว่านี้ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการผสมน้ำอุ่นอาบ นอกจากรักษาอาการผื่นคันแล้ว ยังสามารถคลายกล้ามเนื้อและลดอาการเจ็บปวดได้อีกด้วย
5. ใช้ถนอมอาหาร เกลือเป็นวัตถุดิบหลักในการถนอมอาหารที่นิยมใช้กันมาก ได้ทั้งผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ นอกจากจะเป็นเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์แล้วยังเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศอีกด้วย
6. ขัดผิวให้สะอาด ปัจจุบันเกลือได้ถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกายจำนวนมาก หนึ่งในนั้น คือ เกลือสปาที่นำมาใช้ขัดเพื่อผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วหรือ ‘ขี้ไคล’ ซึ่งสบู่หรือครีมอาบน้ำอาจกำจัดออกไม่หมด นอกจากนั้น ยังมีการเติมน้ำผึ้ง หรือ น้ำนมบริสุทธิ์ เพื่อให้ผิวนุ่มน่าสัมผัสอีกด้วย



เกลือที่นำมาปรุงอาหารนั้น มีทั้งคุณและโทษ หากรับประทานถูกวิธี และในปริมาณที่เหมาะสมจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะเกลือมีประโยชน์นานาชนิด เช่น ป้องกันโรคต่าง ๆ ลดอาการขาดไอโอดีนได้เป็นอย่างดี ดังนั้น จึงควรเลือกใช้เกลือตามวัตถุประสงค์การใช้งานและในปริมาณที่พอเหมาะ


ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://sukkaphap-d.com/ประโยชน์ของ-เกลือ-มีดี
www.chonklang.com/th/บทความ/ประเภทเกลือและชนิดของเกลือที่นิยมใช้ปรุงอาหาร-36

ขอบคุณรูปภาพ:
Bruno /Germany from Pixabay (Bru-nO) >> https://pixabay.com/photos/salt-salt-shaker-table-salt-3285024
Anna Sulencka from Pixabay (pompi) >> https://pixabay.com/photos/salt-grains-himalayan-salt-eating-1778597
Philipp Kleindienst from Pixabay (onefox) >> https://pixabay.com/photos/salt-nature-eat-food-spice-91539