A comprehensive directory of food manufacturers, distributors and suppliers in Thailand. Find updated business information on Thailand Agri Food companies.

INDUSTRY INTERVIEW

    

สัมภาษณ์ผู้บริหาร Oracle กับทิศทางของการนำ AI, Blockchain, IoT มาใช้ในภาคธุรกิจทั่วโลกปี 2018



สรุปงาน Oracle Open World 2017: เปิดประตูสู่การทำธุรกิจยุคใหม่ ด้วยการนำเทคโนโลยีล่าสุดบน Cloud ไปใช้ได้ทันที

คุณ Royce ได้เริ่มต้นเล่าถึงงานใหญ่ประจำปีของ Oracle ที่เพิ่งจัดไปเมื่อปลายปี 2017 ที่ผ่านมา ว่าในงานนั้น Oracle ได้พูดถึง 4 เทคโนโลยีหลักๆ ที่ภาคธุรกิจจะให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ดังนี้

1. Conversation AI / Chatbot: อนาคตแห่งการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร
Conversation AI หรือ Chatbot นี้เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในภูมิภาคเอเชียในปัจจุบัน ทั้งด้วยกระแสของการนำไปใช้ผสานกับธุรกิจและบริการต่างๆ จนสามารถลดปริมาณงานที่เกิดขึ้นกับพนักงานขององค์กร อีกทั้งยังเพิ่มความแม่นยำให้กับข้อมูลที่ถูกบันทึกลงมาได้ ทำให้ในภาพรวมนั้นธุรกิจที่นำ Conversation AI ไปใช้จะสามารถลดต้นทุนและเพิ่มขยายธุรกิจได้เร็วขึ้นอย่างมาก

ทั้งนี้ Oracle เองก็มีเทคโนโลยี Oracle Intelligent Bot ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ตาม Machine Learning ที่ Train ไปร่วมกับระบบ Natural Lang Proc ทำให้การตอบมีความแม่นยำสูงขึ้น เป็นอีกก้าวถัดมาจาก First Generation Chatbot ที่ทำการตอบคำถามต่างๆ ตามการออกแบบล่วงหน้าเอาไว้ โดยทาง Oracle มองว่าความท้าทายของระบบในลักษณะนี้ คือการที่ต้องมี Channel หลากหลาย ทั้ง Chat, Web, Text, Voice, Apps, Devices และอื่นๆ รวมถึงยังมีความซับซ้อนในการใช้งานจริง ทั้งเรื่องของ Access, Security, Back End Integration, Dialog Design และ Language ซึ่งเดิมทีแค่ประเด็นด้านเทคนิคอย่างเช่นการทำ NLP, ML. Speech, Image, Sentiment. Dialog และ Context ก็ยากอยู่แล้ว

ปลายทางของระบบลักษณะนี้คือการทำให้การโต้ตอบข้อมูลมีความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และยังเป็นธรรมชาติ โดยยังคงมีความปลอดภัยในระดับสูง โดยในเอเชียเองก็มีประเด็นเรื่องภาษาที่หลากหลายเป็นโจทย์หลัก โดย Oracle เลือกที่จะไม่พัฒนาระบบ Chat ของตัวเอง แต่เลือกพัฒนาให้ Engine ของตนสามารถทำการ Integrate เข้ากับระบบ Chat ต่างๆ ทั่วโลกได้ เพื่อให้แต่ละธุรกิจสามารถนำไปปรับใช้กับเทคโนโลยี Chat ที่ได้รับความนิยมในประเทศของตนเอง รวมถึงยังสามารถทำการเชื่อมต่อกับระบบ Back End ที่ใช้งานกันได้ในองค์กรอย่างหลากหลาย ทั้งระบบ Business Application ต่างๆ ของ Oracle เองและฐานข้อมูลจากผู้ผลิตรายอื่นๆ เพื่อให้ธุรกิจต่างๆ สามารถนำไปปรับใช้กันได้อย่างยืดหยุ่น และอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือการที่ Oracle Intelligent Bot นี้มีสามารถทำการเชื่อมต่อเข้ากับ Embedded AI ในเทคโนโลยีอื่นๆ ได้ ทำให้สามารถเข้าใจ Context ของเหตุการณ์ต่างๆ ได้มากขึ้น และสามารถตอบสนองได้อย่างชาญฉลาดด้วยข้อมูลที่มีความ Real-time สูงสุดได้ด้วยในตัว

ตัวอย่างหนึ่งของการนำไปใช้งานจริงนั้นก็คือที่ BGE ซึ่งเป็นธุรกิจด้านพลังงาน ได้นำ Oracle Intelligent Bot ไปเชื่อมต่อกับ Google Chat และระบบสนับสนุนด้านบริการหลังการขาย เพื่อให้ลูกค้าของ BGE สามารถทำการแจ้งปัญหาเรื่องไฟดับและรับทราบสาเหตุรวมถึงเปิด Ticket ขอความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาได้ผ่านทางการพูดคุยหรือการพิมพ์บน Google Chat ได้เลย ก็เป็นอีกทางหนึ่งในการแจ้งเรื่องร้องเรียนปัญหาต่างๆ ที่มีความเป็นธรรมชาติสูง, ทำงานได้รวดเร็ว และยังได้รับข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำด้วย ซึ่งตรงนี้จะเข้ามาช่วยให้การบริการในสาธารณูปโภคและธุรกิจขนาดใหญ่มีความคล่องตัวสูงขึ้น

การมาของ Chatbot นี้จะส่งผลกระทบต่อตำแหน่งงานของมนุษย์อย่างแน่นอน ที่งานการรับโทรศัพท์หรือเรื่องร้องเรียนพื้นฐานเหล่านี้จะลดลงไปเพราะระบบเหล่านี้สามารถทดแทนได้ แต่ก็เป็นโอกาสขององค์กรที่จะได้อบรมพนักงานกลุ่มนี้ให้สามารถทำงานที่มีความซับซ้อนสูงขึ้นแต่มีจำนวนน้อยลงให้มีคุณภาพมากขึ้นได้

สำหรับในไทย ตอนนี้เริ่มมีการนำ Conversational AI ในแบบแชทด้วยข้อความจาก Oracle ไปใช้จริงในงาน Customer Service แล้ว แต่ยังคงเป็นแค่ 1st Generation Chatbot ที่ยังไม่ได้ใช้ AI หรือ Machine Learning มากนัก แต่การพัฒนาเรื่องการรองรับภาษาไทยทั้ง Text และ Voice ก็มีแผนที่ออกมาเร็วๆ นี้

2. Internet of Things (IoT) / Connected Devices: อนาคตแห่งการ Optimize ทุกสิ่งอย่างในการทำธุรกิจ
ถึงแม้จะที่ผ่านมาจะมีการพูดคุยเรื่องการนำ IoT มาใช้งานในภาคธุรกิจกันค่อนข้างมาก แต่เราก็ยังไม่ค่อยได้เห็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจกันมากนัก ทำให้ความท้าทายของการนำ IoT มาใช้ในภาคธุรกิจเวลานี้ก็คือ การที่โครงการส่วนใหญ่ยังไม่เกิดความคุ้มค่าจากการใช้ IoT มากนัก รวมถึงบางโครงการถึงขั้นไม่ประสบความสำเร็จในขั้นตอนการติดตั้งเลยด้วยซ้ำ และเทคโนโลยีด้าน IoT ที่ทำงานร่วมกับภาคธุรกิจได้นั้นก็ยังมีทางเลือกไม่มาก

ด้วยสาเหตุดังกล่าว ทาง Oracle จึงได้เลือกที่จะสร้าง Oracle IoT Cloud ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ภาคธุรกิจที่สามารถประเมินความคุ้มค่าก่อนการลงทุนได้ง่ายโดยเฉพาะ เช่น Asset Management, Factory Performance, Fleet Operations, Workplace Safety โดยจะมีการนำ AI/ML มาทำงานร่วมด้วยในระบบ และออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย รวมถึงยังสามารถทำงานร่วมกับ Business Software อย่างเช่น Oracle ERP, SCM, CX, HCM ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหลักของ Oracle เองได้อย่างง่ายดาย และยังมีความเป็น Open Platform ให้สามารถทำงานร่วมกับระบบจากผู้ผลิตรายอื่นๆ ได้อีกด้วย

ข้อดีของการที่มีระบบ IoT อยู่บน Cloud นี้ ก็จะเป็นประเด็นหลักๆ ด้านการรองรับการเพิ่มขยายพลังประมวลผลและพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และสามารถการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT จำนวนมากได้ง่าย อีกทั้งยังควบคุมประเด็นด้าน Security ได้ดีกว่า โดยที่องค์กรไม่ต้องปวดหัวกับการจัดการด้านระบบเครือข่ายที่ซับซ้อนวุ่นวายระหว่างสาขาอีกต่อไป อีกทั้งในอนาคตเทคโนโลยีอย่าง AI ก็จะเข้ามามีบทบาทในการประมวลผลข้อมูลจาก IoT มากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นระบบ IoT ที่อยู่บน Cloud ก็จะสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นมาในอนาคตได้อย่างง่ายดายนั่นเอง

3. Blockchain / Trusted Transactions: อนาคตแห่งการทำธุรกรรมและการจัดการข้อมูลธุรกิจ
เป็นที่แน่นอนแล้วว่าต่อไป Blockchain จะกลายเป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้เป็นอย่างมากในภาคธุรกิจในอนาคต ด้วยประเด็นด้านความน่าเชื่อถือของระบบที่สูง แต่อย่างไรก็ดี ปัจจุบันความท้าทายของการนำ Blockchain มาใช้นี้ก็คือยังไม่มี Blockchain ที่ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีขององค์กรที่มีอยู่เดิมได้แบบง่ายๆ และยังไม่พร้อมจะใช้งานจริงในระดับ Production ทั้งในแง่ของความทนาทน, Security, การกู้ระบบคืน และการกระจายระบบไปยังทั่วโลก รวมถึงตัว Blockchain เองก็ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เทคโนโลยีมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และในเชิงการดูแลรักษาระบบให้ทำงานได้ตลอดเวลานั้นก็ยังขาดส่วนของการทำ On-boarding, Support, Lifecycle Management และ Scalability อยู่

Oracle Blockchain Cloud Service จึงถูกออกแบบมาโดยเลือกใช้ Hyperledger เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานสำหรับเจาะตลาดกลุ่มองค์กรโดยเฉพาะ และสามารถ Integrate เข้ากับเทคโนโลยีของ Oracle เองได้ทันทีอย่างง่ายดาย เป็นการเปิดโอกาสให้เหล่าลูกค้าของ Oracle สามารถเริ่มต้นนำ Blockchain มาใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว โดยการ Integrate นี้ไม่ใช่แค่สามารถ Integrate เข้ากับ Business Applications เท่านั้น แต่ยังสามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีทางด้าน Security และ Infrastructure อื่นๆ ของ Oracle เองได้ด้วย

ใน Oracle Blockchain Cloud Service นี้จะออกแบบมาเพื่อรองรับการทำ B2B Transaction เป็นหลัก โดยมีทั้งบริการ Managed PaaS ให้องค์กรเข้ามาพัฒนาระบบ Blockchain ของตนเองต่อยอดได้ สามารถติดตัั้งใช้งานได้ทั้งบน Public Cloud และ Private Cloud หรือ Data Center ด้วยการติดตั้ง Node หรือ Container ได้ตามต้องการ ทำให้การ Distribute ระบบสามารถทำได้หลายแนวทาง ตอบรับต่อแนวคิดของ Blockchain ที่เป็นระบบแบบกระจายตัวได้เป็นอย่างดี

4. AI / Pervasive AI: อนาคตแห่งธุรกิจรูปแบบใหม่
ปี 2018 นี้เป็นปีของ AI อย่างแท้จริง โดยความท้าทายของเหล่าองค์กรในการนำ AI มาใช้งานนั้นก็คือการขาดบุคลากรที่มีทักษะทางด้านนี้, การเตรียมข้อมูลและระบบสำหรับ AI มีความซับซ้่อนสูง และค่าใช้จ่ายด้านพลังประมวลผลนั้นสูงมาก

Oracle AI Platform จึงถูกออกแบบมาเพื่อให้เหล่าองค์กรสามารถเริ่มต้นใช้งาน AI ได้โดยง่ายที่สุด โดยเทคโนโลยี AI ของ Oracle นี้จะผสานรวมอยู่ทั้งในบริการส่วน SaaS และ PaaS ของ Oracle เอง และทำงานอยู่บน Hardware ของ Oracle ทั้งหมด และสามารถทำการ Integrate AI เข้ากับบริการระบบ Business Application อื่นๆ ของ Oracle Cloud เพื่อให้พร้อมนำไปใช้งานในระดับองค์กรสำหรับวิเคราะห์ข้อมุลธุรกิจร่วมกับข้อมูลอื่นๆ ได้ทันที พร้อมเปิดให้สามารถสร้าง AI ขึ้นมาเรียนรู้ข้อมูลอื่นๆ ได้อีกด้วย

Oracle นั้นมองว่าก้าวแรกที่สำคัญคือการเริ่มนำ AI มาใช้สร้างคุณค่าให้กับธุรกิจให้ได้เร็วที่สุดโดยลงทุนและเวลาให้น้อยที่สุด แนวคิดเรื่องการ Integrate เข้ากับ Business Application แต่แรกนี้จึงส่งผลต่อกลยุทธ์ของ Oracle มากทีเดียว เพราะทำให้ต่างจากผู้ให้บริการ Cloud รายอื่นๆ ชัดเจนที่จะต้องให้ลูกค้าองค์กรเริ่มค้นหาข้อมูลและสร้างระบบ AI ขึ้นมาเองตั้งแต่ศูนย์ ทำให้ต้องลงทุนในช่วงแรกสูงมากกับโครงการที่ไม่รู้ว่าจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด

จะเห็นได้ว่าทั้ง 4 เทคโนโลยีนี้ต่างก็ไม่มีเทคโนโลยีใดที่นำมาสร้างคุณค่าได้หากนำมาใช้เพียงเดี่ยวๆ ด้วยเหตุนี้ทาง Oracle จึงเลือกที่จะพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวทั้งหมดบน Cloud เพื่อให้การเชื่อมต่อผสานระบบนั้นสามารถทำได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ให้ทุกๆ องค์กรลูกค้าของ Oracle มี Time to Market ที่รวดเร็วเหนือคู่แข่ง พร้อมที่จะทำการแข่งขันได้ในอนาคตแห่ง Digital Business ต่อไป

อัปเดตใหม่ๆ สำหรับ Cloud ในแง่มุมของ Infrastructure ที่จะเข้าสู่ยุค Container และ Serverless ในอีกไม่นาน
นอกจากในแง่มุมของบริการ Cloud แบบ SaaS หรือ PaaS แล้ว ทาง Oracle เองก็กำลังเริ่มที่จะผลักดันตลาดในส่วนของบริการ Cloud เพื่อรองรับการจัดการ IT Infrastructure โดยเฉพาะ เพื่อตอบโจทย์ของ Data Center องค์กรที่ขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในแง่ของการขยายระบบ On-Premises มากขึ้น และการเริ่มใช้บริการ Cloud ที่หลากหลาย ทำให้ระบบ IT Monitoring, Management และ Security เองก็มีบทบาทมากขึ้นตามไปด้วย Oracle จึงได้นำเสนอบริการใหม่ๆ ในส่วนนี้เข้ามาเป็นทางเลือกสำหรับองค์กร

บริการนี้มีชื่อว่า Oracle Management Cloud โดยภายในโซลูชันจะมีทั้ง Log Analytics, Infra Analytics, App Analytics และระบบอื่นๆ สำหรับจัดการระบบที่กระจายตัวอยู่ในทั้งในหลายๆ Cloud และหลายๆ Data Center พร้อมทั้งยังสามารถช่วยทำ Compliance ได้ผ่าน Cloud ซึ่งทาง Oracle ก็เริ่มเอา AI และ Machine Learning มาใช้ในส่วนนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางด้าน Security เข้าไปด้วย ซึ่งระบบตรงส่วนนี้ก็รองรับ Multi-Cloud อยู่แล้ว ส่งผลให้สามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่อง Compliance และการจัดการ Shadow IT ภายในองค์กรได้ดีขึ้น และบริการ Integration Service ก็ทำให้สามารถใช้เทคโนโลยีของ Oracle บนผู้ให้บริการ Cloud รายต่างๆ ได้อย่างหลากหลายหากองค์กรต้องการ

อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ Oracle เริ่มให้ความสำคัญมากคือ Managed Kubernetes เพื่อรองรับตลาดการใช้งาน Container ในระดับองค์กรนั่นเอง อย่างไรก็ดี Kubernetes และ Container นี้ยังไม่สามารถใช้งานร่วมกับ Business Application ต่างๆ ของทาง Oracle ไม่ได้ในเวลานี้ ดังนั้นบริการนี้จึงออกมาเพื่อตอบโจทย์สำหรับ Application ที่เหล่าองค์กรพัฒนาขึ้นมาเองเท่านั้น รวมถึงยังมีการเปิดตัว Oracle Functions บริการ Serverless Platform ขึ้นมาเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้เหล่านักพัฒนาได้นำไปใช้กันด้วย

Time to Market ยังคงเป็นสิ่งที่ Oracle ให้ความสำคัญสูงอยู่เสมอ
จุดแข็งของ Oracle คือความสามารถในการเจาะลูกค้ากลุ่มที่ต้องการใช้งานเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันและเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้โดยไม่ทำให้ธุรกิจต้องชะงักหรือติดขัด ซึ่งแนวคิดนี้ก็จะทำให้ธุรกิจใหม่ๆ สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ด้วยเทคโนโลยีล่าสุดโดยยังมี Time to Market ที่รวดเร็ว ซึ่ง Oracle ก็มีทีมงานที่สามารถช่วย Integrate ระบบต่างๆ เข้าด้วยกันให้กับเหล่าธุรกิจได้ ทำให้สามารถตอบโจทย์ในส่วนนี้ได้ดี

นอกจากนี้การออกแบบเทคโนโลยีใดๆ ของ Oracle นั้น การคำนึงถึงเชิงการนำไปใช้งานจริงก็ถือเป็นประเด็นสำคัญ ตัวอย่างเช่นบริการ Oracle Open Banking ที่เป็นระบบสำหรับเชื่อมต่อกับ Core Banking ซึ่งเปิดให้ 3rd Party สามารถเข้ามาเชื่อมต่อระบบได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ทำให้การพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ร่วมกันระหว่างธนาคารและเหล่าธุรกิจ Startup หรือพันธมิตรทางธุรกิจนั้นเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ถือว่าน่าจับตามองไม่น้อยก็คือแนวโน้มของ Low Code Platform ที่ปัจจุบันเริ่มมีลูกค้าเข้ามาใช้งานมากขึ้นเรื่อย โดยแนวคิดของ Low Code Platform นี้คือการมีระบบที่เป็นส่วนเสริมจาก Application หลักที่องค์กรใช้งานหรือพัฒนาขึ้นมา เพื่อเปิดให้เหล่าผู้ใช้งานในกลุ่ม Business User สามารถทำการปรับแต่งหน้าจอและข้อมูลที่แสดงผลได้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถมี Application ที่ตรงต่อความต้องการที่สุด และเพิ่ม Productivity ในการทำงานได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยทรัพยากรฝั่ง Software Development ในองค์กรมากนัก

ขอบคุณข้อมูลจาก: TechTalkThai

www.techtalkthai.com/interview-with-oracle-on-ai-blockchain-iot-in-businesses-2018